สหายมาเยือน : วิชากลอน(ทิดคั่น)

คำกลอนวรรคหนึ่ง มักเรียกว่ากลอนหนึ่ง คำกลอนวรรคสองเรียกว่า สองกลอน เมื่อรวมทังสองวรรคเราเรียกกันว่า บาทหนึ่ง พอครบสองบาท หรือสี่วรรค หรือสี่กลอน เราเรียกว่า หนึ่งบท

วรรคทั้งสี่ของกลอน ยังมีชื่อเรียกต่างๆ กัน และนิยมใช้เสียงต่างๆ กันอีก คือ

๑. กลอนสลับ ได้แก่ กลอนวรรคต้น คำสุดท้ายใช้คำเต้น หมายถึงคำที่มีเสียงใดก็ได้นอกจากเสียงสามัญ แต่ถ้าจะใช้เสียงสามัญก็ไม่ห้ามกัน

๒. กลอนรับ ได้แก่ กลอนวรรคที่สอง คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงจัตวาห้ามใช้เสียงโท, สามัญ, ตรี, และวรรณยุกต์เอกมีรูป วรรณยุกต์เอกไม่มีรูปใช้ได้ แต่ต้องให้คำสุดท้าย ของกลอนรองเป็นเสียงตรี

๓. กลอนรอง ได้แก่ กลอนวรรคที่สาม คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงสามัญห้ามใช้เสียงจัตวา หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์

๔. กลอนส่ง ได้แก่ กลอนวรรคที่สี่ คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงสามัญห้ามใช้คำตายและคำที่มีรูปวรรณยุกต์ จะใช้คำตายเสียงตรี บ้างก็ได้

นอกจากนี้ยังมีหลักนิยมที่ถือปฏิบัติกันมาแต่โบร่ำโบราณ เช่น

๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ วรรคที่ ๒ และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ วรรคที่ ๔ ไม่ควรใช้คำที่มีเสียงเหมือนกันหรือคำที่ใช้สระและตัวสะกดในมาตราเดียว

๒. คำที่รับสัมผัสในวรรคที่ ๒ และที่ ๔ ควรให้ตำแหน่งสัมผัสตกอยู่ที่พยางค์สุดท้าย ของคำไม่ควรให้สัมผัสลงที่ต้นคำหรือกลางคำ (อันนี้น่าจะรู้กันหมดแล้ว ยกมาให้งงกันเล่น ๆ อุอิ)

๓. คำสุดท้ายของวรรคควรใช้คำเต็มไม่ควรใช้ครึ่งคำ หรือยัติภังค์ เว้นไว้

About ธุลีดิน

just wanna write and live simple life am I a dreamer ?

Posted on มีนาคม 29, 2009, in ไม่มีหมวดหมู่. Bookmark the permalink. ใส่ความเห็น.

การแสดงความเห็นถูกปิด